VC Generalization
จากหัวข้อที่แล้ว เราเห็นแล้วว่าอัตราการโตของ $\Pi_H(m)$ นั้นเป็น polynomial บน $m$ ซึ่งทำให้เรามีความหวังที่จะนำค่า $\Pi_H(m)$ มาใช้เป็นเครื่องแสดงความซับซ้อนของ hypothesis space $H$ แทนขนาดของ $H$ ได้ อย่างไรก็ดีเราไม่สามารถทำการวิเคราะห์ generalization bound ของ hypothesis ที่ได้จากการเรียนรู้โดยใช้ union bound เช่นเดิมได้เนื่องจากขนาดของ $H$ อาจมีค่าเป็นอนันต์ ในหัวข้อนี้เราจะมาดูวิธีการวิเคราะห์ generalization bound ให้อยู่ในรูปของ $\Pi_H(m)$ แทน
Consistent hypothesis
เราจะเริ่มพิจารณาในกรณีที่เราทราบว่ามี concept เป้าหมาย $c\in H$ อยู่จริง และเราทำการเรียนรู้โดยการหา hypothesis $h\in H$ ที่ consistent กับตัวอย่างข้อมูลทั้งหมดที่ได้มา ซึ่งแทนด้วย
หากเราต้องการให้ hypothesis $h$ ที่ได้เป็นผลจากการเรียนรู้ของเรามี error $R(h)\leq\epsilon$ เราสามารถทำได้โดยหาขอบเขตของความน่าจะเป็นที่จะมี hypothesis อย่างน้อยตัวหนึ่งใน $H$ ที่มี error มากกว่า $\epsilon$ แต่ยังสามารถเป็นคำตอบจากอัลกอริทึมการเรียนรู้ของเราได้ นั่นคือ hypothesis ดังกล่าวต้อง consistent กับ $S$ ด้วย เรากล่าวได้อีกอย่างว่าเป้าหมายของเราคือการหาขอบเขตของความน่าจะเป็น
ในกรณีที่ $H$ มีขนาดจำกัด เราสามารถจำกัดขอบเขตของความน่าจะเป็นนี้ได้โดยหาความน่าจะเป็นที่ hypothesis $h$ ที่ $R(h)>\epsilon$ จะ consistent กับ $S$ และใช้ union bound จำกัดขอบเขตที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวกับ hypothesis อย่างน้อยหนึ่งตัวได้ แต่เมื่อ $H$ มีขนาดเป็นอนันต์วิธีการนี้ก็ไม่สามารถทำได้แล้ว
Ghost sample
เทคนิคที่เราจะใช้ในการวิเคราะห์ generalization bound เมื่อ $H$ มีขนาดเป็นอนันต์คือการลดรูป hypothesis space $H$ ที่สนใจให้อยู่ในรูปแบบที่มีขนาดจำกัด สมมติให้ $S’$ เป็นเซตของตัวอย่างข้อมูล $m$ ตัวอีกชุดหนึ่งที่สมาชิกแต่ละตัวถูกสุ่มแบบ i.i.d. จากการกระจายตัวแบบเดียวกันกับ $S$ สำหรับ $h\in H$ ใด ๆ เราจะใช้ empirical error เป็นตัวแทนของ $R(h)$ ในการวิเคราะห์ ซึ่งจะเห็นว่าถึงแม้ขนาดของ $H$ จะเป็นอนันต์ก็ตาม หากเราพิจารณาผลลัพธ์ของ $h\in H$ ใด ๆ บน $S’$ ที่มีจำนวนจำกัด จำนวนของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้จะมีจำนวนจำกัดเสมอ ซึ่งทำให้เราสามารถวิเคราะห์ขอบเขตบนของความน่าจะเป็นที่ต้องการโดยใช้ union bound เช่นเดิมได้ เราเรียก $S’$ นี้ว่า ghost sample เนื่องจากเป็นตัวอย่างข้อมูลที่ไม่มีอยู่จริง แต่เราสร้างขึ้นมาสำหรับใช้ในการวิเคราะห์เท่านั้น
ขั้นแรกเราจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง $R(h)$ กับ ก่อน โดยจะแสดงให้เห็นว่าสำหรับ $h\in H$ ที่ $R(h)>\epsilon$ เราจะได้ว่า ด้วยความน่าจะเป็นไม่น้อยกว่า $1/2$
สมมติให้ $r = R(h)$ เราจะได้ว่า จาก Chebyshev’s inequality ที่กล่าวว่า สำหรับตัวแปรสุ่ม $X$ ใด ๆ
เราจะได้ว่า
เนื่องจากตัวแปรสุ่ม นั้นมีการกระจายตัวแบบ binomial เราจะได้ว่า $Var[\widehat{R}_{S’}(h)] = mr(1-r)\leq m/4$ เมื่อ $0\leq r\leq 1$ ดังนั้น
ถ้าเรากำหนดให้ $m\geq 2/\epsilon^2$ เราจะได้ว่า
คราวนี้สังเกตว่าถ้าเราสนใจเหตุการณ์ที่มี $h\in H$ อย่างน้อยหนึ่งตัวที่ consistent กับ $S$ แต่ทำนายผลลัพธ์ใน $S’$ ผิดอย่างน้อย $\epsilon m/2$ ตัว เราจะได้ว่า
หรือก็คือ
ซึ่งทำให้เห็นว่า หากเราต้องการจำกัดขอบเขตความน่าจะเป็นที่จะมี hypothesis $h$ บางตัวที่ consistent กับ $S$ ทั้งที่ $R(h)>\epsilon$ เราสามารถทำได้โดยจำกัดขอบเขตความน่าจะเป็นที่จะมี $h$ ที่ consistent กับ $S$ แต่ทำนายผลลัพธ์ใน $S’$ ผิดอย่างน้อย $\epsilon m/2$ ตัว ซึ่งเหตุการณ์หลังนี้สามารถวิเคราะห์ได้ง่ายกว่า
Permutation ของตัวอย่างข้อมูล
ถึงตรงนี้ เป้าหมายของเราคือการหาขอบเขตความน่าจะเป็นที่จะมี $h\in H$ ที่ทำนายผลลัพธ์ใน $S$ ได้ถูกต้องทั้งหมด แต่ทำนายผลลัพธ์ใน $S’$ ผิดอย่างน้อย $\epsilon m/2$ ตัว จุดสำคัญที่ทำให้เราวิเคราะห์ขอบเขตดังกล่าวนี้ได้ก็คือ ถึงแม้ว่า $H$ จะมีขนาดเป็นอนันต์ แต่หากเราพิจารณา hypothesis ใน $H$ ผ่านตัวอย่างข้อมูลใน $S\cup S’$ เท่านั้น จะได้ว่าจำนวนวิธีการจำแนกข้อมูล $2m$ ตัวนี้ออกเป็นสองคลาสโดยใช้ hypothesis ใน $H$ จะไม่มีทางเกิน $\Pi_H(2m)$ แน่นอน นั่นคือ ถ้าเราให้ $H_{S\cup S’}$ แทนเซตของ dichotomy ทั้งหมดของ $H$ บนตัวอย่างข้อมูลใน $S\cup S’$ (หรือเซตของ hypothesis ที่เป็นไปได้ทั้งหมด ใน $H$ เมื่อพิจารณาบน input space $S\cup S’$) เราจะได้ว่า $|H_{S\cup S’}|\leq \Pi_{H}(2m)$ นอกจากนี้ สังเกตว่าเหตุการณ์ที่มี hypothesis บางตัวใน $H$ ที่ consistent กับ $S$ แต่ทำนายผลลัพธ์ใน $S’$ ผิดอย่างน้อย $\epsilon m/2$ ตัว ก็คือเหตุการณ์เดียวกันกับการมี hypothesis ใน $H_{S\cup S’}$ ที่ให้ผลแบบเดียวกัน ดังนั้นเราจึงได้ว่า
สังเกตว่าในตอนนี้ปัญหาของเราอยู่ในรูปที่ hypothesis space มีขนาดจำกัดแล้ว เราสามารถวิเคราะห์ความน่าจะเป็นที่ hypothesis $h$ แต่ละแบบใน $H_{S\cup S’}$ มี error บน $S$ และ $S’$ ตามที่สนใจ และใช้ union bound คำนวณหาขอบเขตความน่าจะเป็นที่ต้องการได้ อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์ความน่าจะเป็นที่ $h$ จะมี error ตามที่สนใจนี้โดยตรงทำได้ยาก เราจึงต้องหาทางวิเคราะห์ในมุมอื่นแทน
สิ่งที่เราสนใจตอนนี้คือ เมื่อเราทำการสุ่มตัวอย่างข้อมูลมา $m$ ตัวเรียกว่า $S$ จากนั้นสุ่มตัวอย่างข้อมูลอีก $m$ ตัวเรียกว่า $S’$ จะมี $h\in H_{S\cup S’}$ ที่ทำนายผลลัพธ์ใน $S$ ถูกต้องทั้งหมดแต่ทำนายผลลัพธ์ใน $S’$ ผิดอย่างน้อย $\epsilon m/2$ ด้วยความน่าจะเป็นเท่าไหร่ แทนที่เราจะมองกระบวนการสุ่มในสองขั้นตอนตามที่กล่าวมานั้น เราสามารถมองกระบวนการสุ่มตัวอย่างข้อมูลด้วยกระบวนการใหม่คือ สุ่มตัวอย่างข้อมูลมา $2m$ ตัวก่อน จากนั้นสุ่มการเรียบสับเปลี่ยน (permutation) ของตัวอย่างข้อมูลทั้ง $2m$ ตัวนั้นเพื่อแบ่งข้อมูลออกเป็นสองกลุ่ม โดย $m$ ตัวแรกเราจะจัดให้อยู่ในเซต $S$ และ $m$ ตัวหลังอยู่ใน $S’$ สังเกตว่ากระบวนการสุ่มข้อมูลใน $S$ และ $S’$ แบบใหม่นี้ยังคงให้การกระจายของข้อมูลเหมือนเดิม ดังนั้นเราจึงสามารถวิเคราะห์ความน่าจะเป็นที่ $S\in H_{S\cup S’}$ ใด ๆ จะทำนายผลลัพธ์ใน $S$ ถูกต้องทั้งหมดแต่ทำนายผลลัพธ์ใน $S’$ ผิดอย่างน้อย $\epsilon m/2$ ผ่านกระบวนการสุ่มตัวอย่างข้อมูลแบบใหม่นี้ได้
พิจารณาเมื่อเราสุ่มตัวอย่างข้อมูล $2m$ ตัวมาแล้ว สมมติให้ $h\in H_{S\cup S’}$ เป็น hypothesis ที่ทำนายผลลัพธ์ใน $2m$ ตัวนี้ผิดจำนวน $l\geq\epsilon m/2$ ตัว เราต้องหาว่าเมื่อทำการเรียงสับเปลี่ยนตัวอย่างข้อมูลแล้ว จะมีความน่าจะเป็นเท่าไหร่ที่ตัวอย่างข้อมูลที่ถูกทำนายผิดทั้ง $l$ ตัวจะตกอยู่ใน $S$ ทั้งหมด ปัญหาของเราตอนนี้สามารถมองเป็นปัญหาการนับดังนี้ มีลูกบอลทั้งสิ้น $2m$ ลูก เป็นลูกบอลสีแดง $l$ ลูก ที่เหลือเป็นสีน้ำเงิน เราทำการจัดเรียงลำดับลูกบอลใหม่อย่างสุ่มและต้องการทราบว่ามีความน่าจะเป็นเท่าไหร่ที่ลูกบอลสีแดงทั้งหมดปรากฏอยู่ใน $m$ ลูกแรก เราสามารถคำนวณความน่าจะเป็นนี้ได้โดยการนับจำนวนวิธีจัดเรียงทั้งหมดที่ทำให้ลูกบอลสีแดงอยู่ใน $m$ ลูกแรก ซึ่งทำได้โดยการเลือกตำแหน่ง $l$ ตำแหน่งใน $m$ ตำแหน่งแรกสำหรับลูกบอลสีแดงก่อน ทำได้ $\binom{m}{l}$ วิธี จากนั้นนำลูกบอลสีแดงมาจัดเรียงใน $l$ ตำแหน่งดังกล่าวได้ $l!$ วิธี และนำลูกบอลสีน้ำเงินมาจัดเรียงในตำแหน่งที่เหลือได้อีก $(2m-l)!$ วิธี นั่นคือจำนวนวิธีการจัดเรียงที่ทำให้ลูกบอลสีแดงทั้งหมดอยู่ใน $m$ ลูกแรกจะเท่ากับ
และความน่าจะเป็นที่การสุ่มการจัดเรียงจะให้ผลดังกล่าวจะมีค่าเป็น
นั่นคือ สำหรับ $h\in H_{S\cup S’}$ ที่ ความน่าจะเป็นที่ และ จะมีค่าไม่เกิน $2^{-\epsilon m/2}$ และเนื่องจากจำนวน $h\in H_{S\cup S’}$ ที่ นี้จะมีจำนวนไม่เกิน $\Pi_H(2m)$ เราจึงได้ว่า
และได้ว่า
เมื่อเรากำหนดขอบเขตบน $2\left(\frac{2em}{d}\right)^d2^{-\epsilon m/2}=\delta$ เราก็จะคำนวณ $\epsilon$ ซึ่งเป็นขอบเขตบนของ generalization error ได้ดังนี้
เมื่อ $\log$ มีฐานเป็น $2$
Prev: ขอบเขตของ Growth Function
Next: Sample Complexity