การเรียนรู้แบบ Agnostic PAC
เนื่องจากในแบบจำลองการจำแนกข้อมูลแบบ stochastic นี้ เราไม่สามารถหา concept เป้าหมายที่มี error เป็นศูนย์ได้ ดังนั้น สำหรับ hypothesis space $H$ ใด ๆ เราจะมุ่งเป้าไปที่การหา hypothesis ที่มี error ใกล้เคียงกับ Bayes error ให้ได้มากที่สุด หากเราได้เลือก hypothesis space $H$ ที่จะใช้ในการเรียนรู้ได้แล้ว เป้าหมายหลักของเราก็จะเป็นการหา hypothesis $h\in H$ ที่มี error $R(h)$ น้อยที่สุดใน $H$ ให้ได้ แนวคิดนี้ทำให้เราสามารถนิยามอัลกอริทึมการเรียนรู้แบบ agnostic-PAC ได้ดังนี้
สำหรับ hypothesis space $H$ เราจะกล่าวว่าอัลกอริทึม $A$ เป็นอัลกอริทึมการเรียนรู้แบบ agnostic-PAC ถ้าสำหรับค่า $\epsilon>0$ และ $\delta>0$ ใด ๆ และสำหรับการกระจายของข้อมูล $D$ บน $X\times Y$ ใด ๆ เมื่ออัลกอริทึม $A$ รับตัวอย่างข้อมูล จาก $D$ อัลกอริทึม $A$ จะให้ผลลัพธ์เป็น hypothesis $h_S$ ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขต่อไปนี้ เมื่อ $m\geq m_0$ โดย $m_0$ เป็น polynomial บน $1/\epsilon$, $1/\delta$, $n$ และ $size(h^*)$
โดย $n$ เป็นขนาดของ input $x\in X$ และ $h^*$ เป็น hypothesis ที่มีค่า error น้อยที่สุดใน $H$ หรือ
ถ้าอัลกอริทึม $A$ สามารถให้ผลลัพธ์ดังกล่าวได้โดยใช้เวลาทำงานเป็น polynomial บน $1/\epsilon$, $1/\delta$, $n$ และ $size(h^*)$ เราจะเรียกว่าเป็นอัลกอริทึมการเรียนรู้แบบ agnostic ที่มีประสิทธิภาพ
Inconsistent Hypothesis
ในการเรียนรู้บน stochastic scenario นี้ เราไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะสามารถหา hypothesis $h\in H$ ที่สอดคล้องกับตัวอย่างข้อมูลทั้งหมดใน $S$ ได้เสมอ อย่างไรก็ดี เราได้เห็นตัวอย่างใน การเรียนรู้ Boolean Conjunction ด้วย Inconsistent Hypothesis มาแล้วว่า hypothesis ที่ไม่ได้สอดคล้องกับตัวอย่างข้อมูลทั้งหมด แต่มีความผิดพลาดบนตัวอย่างข้อมูลน้อย ก็มีประโยชน์สำหรับเราได้เช่นกัน
ในหัวข้อนี้เราจะแสดงให้เห็นว่าในความเป็นจริง สำหรับ hypothesis $h\in H$ ใด ๆ เราพอที่จะสามารถหาขอบเขตของ error $R(h)$ จาก empirical error $\hat{R}(h)$ ได้ เมื่อ $\hat{R}(h)$ มีนิยามดังนี้
สำหรับเซตของตัวอย่างข้อมูล
จาก Hoeffding’s inequality เราจะได้ว่าเมื่อเราพิจารณาตัวอย่างข้อมูล $S$ และทำการเลือก hypothesis $h\in H$ ที่มีอัตราผิดพลาดบน $S$ เท่ากับ $\hat{R}(h)$ เราสามารถวิเคราะห์โอกาสที่ $h$ จะมีอัตราผิดพลาดเฉลี่ยจริง $R(h)$ แตกต่างจาก $\hat{R}(h)$ มากได้ดังนี้
และ
ซึ่งจาก union bound เราสามารถสรุปได้เป็น
นั่นแสดงว่าหาก hypothesis space $H$ มีขนาดจำกัด เราสามารถจำกัดขอบเขตของความน่าจะเป็นที่จะมี hypothesis $h$ บางตัวใน $H$ ที่มี empirical error $\hat{R}(h)$ แตกต่างจาก $R(h)$ เกิน $\epsilon$ ได้ดังนี้
ถ้าเรากำหนดให้ $2|H|e^{-2m\epsilon^2}=\delta$ เราจะได้
นั่นคือ ด้วยความน่าจะเป็นไม่น้อยกว่า $1-\delta$ hypothesis $h$ ทุกตัวใน $H$ จะมีขอบเขตของ error ดังนี้
หรือในมุมของ sample complexity ถ้าเรากำหนดให้ $2|H|e^{-2m\epsilon^2}\leq \delta$ เราจะรับประกันได้ว่า hypothesis $h\in H$ ใด ๆ จะมี $\hat{R}(h)$ แตกต่างจาก $R(h)$ ไม่เกิน $\epsilon$ ด้วยความน่าจะเป็นไม่น้อยกว่า $1-\delta$ ถ้าจำนวนตัวอย่างข้อมูลเป็น
Empirical risk minimization
เนื่องจากเราสามารถบีบความแตกต่างระหว่าง empirical error กับ expected error ได้ จะเห็นว่าหากเราอยากได้ hypothesis $h$ ที่มีอัตราความผิดพลาดโดยเฉลี่ยน้อยที่สุด ($R(h)$ น้อยที่สุด) วิธีหนึ่งที่น่าสนใจคือการหา hypothesis ที่มีค่าความผิดพลาดบนตัวอย่างข้อมูลใน $S$ น้อยที่สุด เราเรียกแนวทางการเลือก hypothesis เช่นนี้ว่า empirical risk minimization ซึ่ง หาก $h_{ERM}$ เป็น hypothesis ที่ได้จากการเลือกดังกล่าว นั่นคือ
และให้ เป็น hypothesis ที่มีอัตราความผิดพลาดโดยเฉลี่ยหรือ risk น้อยที่สุดใน $H$ เราจะสามารถหา generalization bound ของ $R(h_{ERM})$ เทียบกับ $R(h^*)$ ได้ดังนี้
โดยจากบรรทัดที่ 1 มาบรรทัดที่ 2 เราใช้ความจริงที่ว่า $\hat{R}(h_{ERM})\leq \hat{R}(h^*)$ เนื่องจากเราเลือก $h_{ERM}$ ที่มี empirical error น้อยที่สุด
เพราะฉะนั้น ด้วยความน่าจะเป็นไม่น้อยกว่า $1-\delta$
หรือกล่าวได้อีกอย่างว่า ถ้าจำนวนตัวอย่างข้อมูลเป็น
ด้วยความน่าจะเป็นไม่น้อยกว่า $1-\delta$ อัลกอริทึม estimation risk minimization จะให้ผลลัพธ์เป็น hypothesis $h_{ERM}$ ที่มี error
หากเราต้องการให้ ด้วยความน่าจะเป็นไม่เกิน $1-\delta$ เราก็ต้องใช้จำนวนตัวอย่างข้อมูลเป็น
Prev: Bayes Error
Next: การเลือกแบบจำลอง